การหักลดหย่อนบุตรดังกล่าวจะต้องเข้าองค์ประกอบ ดังนี้

การหักลดหย่อน

เงินได้พึงประเมินเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี กฎหมายให้หักลดหย่อนได้อีก ดังนี้

๑. ลดหย่อนให้สำหรับ

 (ก) ผู้มีเงินได้ ๓๐,๐๐๐  บาท

 (ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ๓๐,๐๐๐ บาท

 (ค) บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ คนละ   ๑๕,๐๐๐ บาท

 (ง) ถ้าบุตรตาม (ค) ศึกษาอยู่ในประเทศไทย   ในสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย สถานศึกษาเอกชน หรือตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ ๒,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๑๗,๐๐๐ บาท

 

การหักลดหย่อนบุตรดังกล่าวจะต้องเข้าองค์ประกอบ ดังนี้

๑) เป็นบุตรชอบด้วกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของ สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย โดยมีเงื่อนไข จำนวนบุตรที่จะหักลดหย่อนได้ ดังนี้

ก. บุตรที่เกิดก่อนหรือใน พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมก่อน พ.ศ. ๒๕๒๒ หักลดหย่อน ได้โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร

ข. บุตรที่เกิดหลัง พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมในหรือหลัง พ.ศ.๒๕๒๒ หากบุตรตาม ก.  มีไม่ถึง ๓ คน จึงจะมีสิทธินำบุตรตาม ข. มาหัก แต่เมื่อรวมบุตรตาม ก. และ ข. แล้วต้องไม่เกิน ๓ คนการนับจำนวนบุตร ให้ นับเฉพาะบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ตามลำดับ อายุสูงสุดของบุตร โดยให้นับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับ การหักลดหย่อนด้วย

 

๒) บุตรที่มีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือขั้นอุดมศึกษาหรือเป็นผู้เยาว์   หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู

 

๓) ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ตั้งแต่ ๑๕,๐๐๐ บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้น ไม่เข้าลักษณะยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒ แห่งประมวลรัษฎากร

การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมนั้นให้หักลดหย่อนในฐานะบุตรบุญธรรมได้แต่ฐานะเดียว

(จ) การลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต

ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐บาท ทั้งนี้เฉพาะในกรณีที่ กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลา ๑๐ ปีขึ้นไป และได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตใน      ราชอาณาจักร

ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีหรือภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ หักลดหย่อนได้ด้วย สำหรับเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายสำหรับการประกับชีวิตของสามีหรือภริยานั้นตามหลักเกณฑ์เดียวกัน

 

กรณีสัญญาประกันชีวิตไม่ได้กำหนดอายุกรมธรรม์หรือกำหนดไว้ตลอดชีวิต ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินำมาหักลดหย่อน   เพราะถือว่าไม่มีกำหนดอายุกรมธรรม์ตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป   เว้นแต่ในสัญญาดังกล่าวระบุถึงกำหนดเวลาการจ่ายเบี้ย ประกันชีวิตไว้   ตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป

การฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวที่มีกรมธรรม์ตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป ก็นำมาหักลดหย่อน ตามเกณฑ์นี้ได้ด้วย

        (ฉ) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดย กฎกระทรวง ตามมาตรา 65 ตรี(2) หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท

ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และความเป็นสามีภริยาได้มี อยู่ ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้สำหรับเงินสะสมของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามเกณฑ์เดียวกัน

 

หมายเหตุ….เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เฉพาะส่วนที่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒๙๐,๐๐๐ บาท เป็นเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษี

(ช) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ   หรือสร้างอาคารเพื่อที่อยู่อาศัย ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนและหรือหัก จากเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่าย สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการกู้ยืมเพื่อซื้อ   เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อ   หรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงในปีภาษี แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐  บาท ทั้งนี้ ต้องเป็นตามหลัก  เกณฑ์ดังนี้

 (๑) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก

ก.  ธนาคาร สถาบันการเงินอื่น  บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์   นายจ้าง  บรรษัทตลาด ของสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ข.   กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน

ค.   กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน

 (๒) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ   เช่าซื้อ   อาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อ   สร้างอาคารใช้อยู่อาศัย

 (๓) ต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินโดยมียะยะเวลา   จำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม

 (๔) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (๓) เป็นที่อยู่อาศัยโดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎร์ในปีที่ขอหักลดหย่อน

 (๕) กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (๓) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนเกินกว่า ๑ แห่งให้หักลดหย่อนได้ทุกแห่งสำหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (๓)

 (๖) กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ตาม(๑) ให้ยังคงหักลดหย่อนได้   ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวข้างต้น ให้หมายความรวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอันเกิดจากการย้ายแหล่งเงินทุน   (Refinance) เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนเดิมที่กู้ยืมเพื่อซื้อ   เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย   หรือ  ห้องชุด   ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนและหรือยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ย   เงินกู้ยืมที่นำไปชำระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระให้แหล่งเงินทุนเดิมนั้น

 (ซ)   เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมให้หักลดหย่อน ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

 

              ในกรณีที่สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และความเป็น สามีภริยา ได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้หักลดหย่อนได้ด้วย สำหรับเงินสมทบของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุน ประกันสังคม ตามเกณฑ์เดียวกัน

 

๒. ในกรณีสามีหรือภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี การหักลดหย่อน ตาม 1 (ก) และ (ข) ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ ๖๐,๐๐๐ บาท แต่ถ้าความเป็นสามีหรือภริยามิได้อยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหัก

ลดหย่อนได้ตาม ๑. (ก) และสำหรับการหักลดหย่อนตาม ๑. (ค) (ง) และ (ช)ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่งตาม เกณฑ์ที่กำหนด ไว้ในแต่ละกรณีเฉพาะในปีภาษีนั้น

 

๓. ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อนตาม ๑ (ข) (ค) และ (ง) ให้หักเฉพาะสามีภริยา และบุตรที่อยู่ในประเทศไทย

 

๔. ในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษีให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษี ที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย

 

๕. ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดก ให้หักลดหย่อนได้ ๓๐,๐๐๐ บาท

 

๖ ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลให้หักลดหย่อนสำหรับผู้เป็น หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนที่อยู่ในประเทศไทย แต่รวมกันต้องไม่เกิน ๖๐,๐๐๐   บาท

 

๗. หักลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการกุศลสาธารณะ.เงินบริจาคที่หักลดหย่อนได้ จะต้องกรณีเป็นบริจาคให้แก่

 (ก)  สถานพยาบาลของทางราชการ

 (ข) สถานพยาบาลขององค์การของรัฐบาล

 (ค) สถานศึกษาของทางราชการ

 (ง) สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล

 (จ) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบัน อุมดศึกษาเอกชน

 (ฉ) วัดวา   อารามที่จัดตั้งโดยถูกต้องตามกฎหมายของศาสนานั้นๆ

 (ช) มูลนิธิหรือสมาคม   เฉพาะที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การสาธารณกุศล จากกระทรวงการคลัง

ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ตามจำนวนที่บริจาคจริง   แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น

ในกรณีผู้มีเงินได้มีคู่สมรสและคู่สมรสไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น หากมีการบริจาคเงินในนามคู่สมรสจะนำเงินบริจาค ดังกล่าวมาหักลดหย่อนไม่ได้

ในกรณีที่ใบเสร็จรับเงินบริจาคระบุชื่อผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาเป็นผู้บริจาคโดยไม่ได้แยกส่วนกันไว้ ให้ถือว่า   บริจาคคนละครึ่งของจำนวนเงินบริจาคทั้งหมด

ในกรณีมีชื่อบุคคลหลายคนในใบเสร็จรับเงินบริจาคให้เฉลี่ยเท่าๆกัน

ใบเสร็จรับเงินระบุวันบริจาคไว้ในปีภาษีใด ให้นำมาหักลดหย่อนได้ในปีภาษีนั้นเท่านั้น