ฐานภาษี และอัตราภาษี
ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ที่ผู้ประกอบกิจการได้รับ หรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ
“รายรับ” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ผู้ประกอบกิจการ ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และจะต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนภาษี ธุรกิจเฉพาะดังกล่าว
กิจการ
ฐานภาษี
อัตราภาษีร้อยละ
๑. กิจการธนาคาร,ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์, ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการเยี่ยง ธนาคารพาณิชย์
-ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่าย ใดๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ
๓.๐
-กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงินหรือการส่งเงินไปต่างประเทศ
๓.๐
๒. กิจการรับประกันชีวิต
– ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ
๒.๕
๓. กิจการโรงรับจำนำ
– ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม
๒.๕
– เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับจากการขายของที่ จำนำหลุดเป็นสิทธิ
๒.๕
๔. การค้าอสังหาริมทรัพย์
– รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ
๐.๑
๕.การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์
– รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ
๐.๑ (ยกเว้น)
๖. การซื้อและการขายคืนหลัก ทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
– กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขายคืนหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึง ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์
๓.๐
๗. ธุรกิจแฟ็กเตอริง
– ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ
๓.๐
หมายเหตุ อัตราภาษีของการค้าอสังหาริมทรัพย์ให้ลดและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.1 โดยมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ (พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ ๓๖๖) พ.ศ.๒๕๔๓)
การคำนวณรายรับดังกล่าวข้างต้นให้เป็นไปตามวิธีการหลักเกณฑ์และการปฏิบัติทางบัญชี และเมื่อได้เลือก ปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้ว (เช่น เลือกใช้เกณฑ์เงินสดหรือเกณฑ์สิทธิ เป็นต้น) จะต้องถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวตลอดไป เว้นแต่ จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลง