กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี

กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี – ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีโดยใช้แบบ ภ.ธ.๔๐   (แสดงประเภทของกิจการ จำนวนรายรับ จำนวนภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ ๑๐ ของภาษีธุรกิจเฉพาะ)   – ยื่นแบบแสดงรายการเป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้น หรือไม่ก็ตาม   – ภาษีในเดือนภาษีใด เมื่อรวมคำนวณแล้วมีจำนวนไม่ถึง ๑๐๐บาท ผู้ประกอบกิจการไม่ต้องเสียภาษีสำหรับ เดือนภาษีนั้น แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการตามปกติ  

การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ

การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ ๑. ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ๑.๑   ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งได้ชำระภาษีไว้เกินหรือผิด หรือซ้ำ ๑.๒   ผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีแต่ได้ชำระภาษีไว้   ๒. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีสิทธิขอคืนเงินภาษีได้โดยใช้คำร้องขอคืนเงินภาษีอากร คือแบบ ค.๑๐   ๓. การยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ค.๑๐ จะต้องแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับคำร้อง ด้วยได้แก่ ๓.๑ หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีผู้ขอคืนเป็นนิติบุคคล ๓.๒ ใบเสร็จรับเงินภาษีธุรกิจเฉพาะ ๓.๓ หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ขอคืน   ๔. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายใน 3 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่น แบบแสดงรายการภาษี

หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติดังนี้ ๑. หน้าที่ในการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ   ตามแบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ วิธีการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ๑.๑ แบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.๐๑) แบบคำขอที่ใช้ในการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่แบบ ภ.ธ.๐๑ ทั้งนี้ให้ผู้ประกอบกิจการ ขอรับแบบคำขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานสรรพากรอำเภอ หรือสำนักงานภาษีสรรรพากรพื้นที่ทุกแห่ง   ๑.๒ การกรอกแบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ   ผู้ประกอบกิจการต้องกรอกแบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ แบบ ภ.ธ.๐๑ จำนวน ๓ ฉบับ   โดยมีข้อความครบถ้วนถูกต้องตรงกันทั้ง ๓ ฉบับ ในการกรอกรายการ ตามแบบ ภ.ธ.๐๑ ผู้ประกอบกิจการต้องแสดง สถานภาพต่างๆ ของการประกอบกิจการ ดังนี้    (๑) ชื่อผู้ประกอบกิจการ สำหรับผู้ประกอบกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดาให้กรอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ วัน เดือน ปีเกิด   เลขประจำตัวประชาชน และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร สำหรับผู้ประกอบกิจการที่เป็นนิติบุคคล ให้กรอกชื่อของนิติบุคคลที่ใช้ใน การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท ตามที่ปรากฏในหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท   …

ฐานภาษี และอัตราภาษี

ฐานภาษี และอัตราภาษี ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ   ที่ผู้ประกอบกิจการได้รับ หรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ “รายรับ” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ผู้ประกอบกิจการ ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และจะต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนภาษี ธุรกิจเฉพาะดังกล่าว                    กิจการ                              ฐานภาษี                   อัตราภาษีร้อยละ ๑. กิจการธนาคาร,ธุรกิจเงินทุน   ธุรกิจหลักทรัพย์, ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์    และการประกอบกิจการเยี่ยง ธนาคารพาณิชย์        -ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่าย ใดๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ                       ๓.๐ -กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ …

กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ๑. กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร   ๒. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย   ๓. กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น   ๔. กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ   ๕. กิจการของการเคหะแห่งชาติเฉพาะการขาย หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์   ๖. กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น   ๗. กิจการขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน ตลาดหลักทรัพย์   ๘. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม   ๙. กิจการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม   ๑๐. กิจการของธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย   ๑๑. กิจการของกองทุนสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ   ๑๒. กิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน   ๑๓. กิจการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน   ๑๔. กิจการของนิติบุคคลเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เฉพาะกรณี           ดังต่อไปนี้  (๑)   …